จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เทคนิคการเล่นกล้ามอกโดย Mr.Olympia 4 สมัย Jay Cutler


มันไม่มีอะไรที่พิเศษเลยกับการเล่นกล้ามอกของมิสเตอร์โอลิมเปีย 4 สมัย เจย์ คัทเลอร์ หลักง่ายๆของการเล่นกล้ามอกที่พาเค้าพิชิตแชมป์ถึง 4 สมัยคือ เพิ่มน้ำหนักที่ใช้ เพิ่มจำนวนครั้ง เพิ่มจำนวนเซ็ท ลดเวลาที่พักระหว่างเซ็ท และต้องเล่นให้เต็มท่าจนครั้งสุดท้าย(ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำหนักที่ทำให้เล่นได้ไม่ครบจำนวนครั้งที่ตั้งไว้)

 

เจย์ คุณพอจะสรุปการเล่นกล้ามอกของคุณให้เราฟังได้มั๊ย?

จะบอกว่ามันไม่ได้มีอะไรที่พิเศษเลยกับสิ่งที่ผมทำมาตลอด 20 ปี โดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่ได้ใช้เทคนิคพิเศษอะไรเลย ไม่เคยแม้แต่จะดรอปเซทด้วย

 

นักเพาะกายส่วนใหญ่จะพยายามเพิ่มความเข้มข้นในการเพาะกาย  แต่ทำไมคุณใช้เพียงแค่การเล่นแบบธรรมดา?

เพราะมันใช้แล้วได้ผลดีกับผมน่ะสิ ผมล่ะไม่เข้าใจว่าเราจะเปลี่ยนทำไมถ้ามันดีอยู่แล้ว ผมไม่เคยเจ็บหนักๆและทำให้สามารถเพิ่มกล้ามเนื้อได้ตลอดหลายต่อหลายปีติดๆกัน ดังนั้นผมจึงไม่เคยเปลี่ยนเทคนิคการเล่นเลย

 

ท่าเล่นท่าแรกมักเป็นท่าที่สำคัญที่สุดเพราะยังสามารถใช้น้ำหนักได้มากโดยกล้ามเนื้อยังไม่ล้า สำหรับคุณ เจย์คุณมักใช้ท่าอะไรเป็นท่าแรกสุด?

ท่าแรกของผมมักเป็นท่าที่ใช้กล้ามเนื้อหลายส่วน(คอมปาวน์)เสมอ ซึ่งสำหรับผมก็มักเป็นท่าที่ใช้ฟรีเวทด้วย แม้ในปีหลังๆของผมจะเปลี่ยนมาใช้แมชชีนมากขึ้นเพื่อความปลอดภัย
ผมชอบที่จะใช้อุปกรณ์ Hammer Strength decline machine มากที่สุดแต่ในยิมหลายๆแห่งมักไม่มีอุปกรณ์นี้



คุณเริ่มวันเล่นอกด้วย bench press เลยมั้ย?

ผมไม่เคยยึดติดกับท่าที่ใช้ โดยผมจะเปลี่ยนบางท่าไปบ้าง ตามแต่ละวัน หลายๆครั้งก็เปลี่ยนอุปกรณ์ที่เล่นหรือแม้แต่เปลี่ยนยิมที่เล่น แต่แทนที่ผมจะเปลี่ยนไปตามอารมณ์ อะไรที่มันได้ผลกับผม ผมก็จะเล่นท่านั้นๆเสมอ โดยส่วนตัวผมไม่เชื่อในหลักของการที่ต้องคอยเปลี่ยนวิิธีการเล่นไปเรื่อยๆ ผมเชื่อว่าถ้าวิคุณมีวิธีการเล่น การทานอาการและการพักผ่อนที่เข้ากับคุณและมันได้ผลแล้ว มันก็จะได้ผลไปตลอด

 

ปีหลังๆคุณเล่นอกด้วยMachine บ่อยขึ้นเยอะเลยใช่มั้ยครับ?

ผมเล่นด้วยเครื่องมากขึ้นเพราะผมไม่อยากบาดเจ็บ  ขณะที่ผมประสบความสำเร็จมากขึ้น นักเพาะกายคนอื่นๆกลับเริ่มบาดเจ็บกันมากขึ้น แต่มันไม่เคยเกิดขึ้นกับตัวผมเลย
และเมื่อผมอายุมากขึ้น ผมกลับเริ่มกลัวความแข็งแรงของตัวเองจะทำให้เผลอใช้น้ำหนักที่มากเกินไป จริงอยู่ที่ผมสามารถยกดัมเบลล์ได้ถึง 200 ปอนด์ หรือเบนท์เพรสได้หลายครั้งด้วยน้ำหนัก 500 ปอนด์ แต่คนที่ยกแบบนี้ไม่นานมักจบลงที่การบาดเจ็บ
ดังนั้นผมจึงเน้นไปที่การทำให้กล้ามเนื้อล้าก่อน ทำให้ในท่าหลักไม่สามารถจะใช้น้ำหนักมากๆได้

 

คุณวอร์มอัพแค่ไหนในวันเล่นอกครับ?

ในลาสเวกัส แค่เดินทางไปยิมก็เหมือนได้วอร์มแล้ว ดังนั้นผมจึงไม่จำเป็นต้องวอร์ม แต่ผมก็ยังคงเล่นเซ็ทที่ใช้น้ำหนักเบาๆอยู่  ซึ่งผมเรียกว่า feel sets ซึ่งจะช่วยผมโฟกัสกล้ามเนื้อได้ และจะทำให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้นเมื่อเพิ่มน้ำหนักขึ้น
จากนั้นผมก็จะเพิ่มน้ำหนักขึ้น และเล่นเซ็ทจริง 3-4 เซ็ท ดังนั้นในท่าแรกผมจะเล่น 6-7 เซ็ท

 

คุณเล่นแต่ละเซ็ทจนถึงจุดที่ยกไม่ไหวมั๊ย(failure)?

ตลอดยี่สิบปีที่ผ่านมาผมไม่เคยยกจนถึงจุดล้าที่ยกไม่ครบเซ็ทผมจะใช้น้ำหนักที่ผมสามารถยกได้ ครบ 8ถึง12ครั้งเสมอ แน่นอนผมสามารถยกได้หนักกว่านั้น แต่จุดมุ่งหมายของผมไม่ได้อยุ่ที่พละกำลัง หรือการยกจนหมดแรง ผมเน้นไปที่จำนวนครั้งและจำนวนเซ็ทคุณจะไม่สามารถเพาะกายแบบ เน้นจำนวน (high volume) และ เน้นความเข้มข้น (high intensity)ไปพร้อมกันได้ คุณต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ผมอาจจะยกรวมถึง 20 เซ็ทไม่ว่าจะเป็นแค่กล้ามอกหรือกล้ามแขน หรือแม้แต่ 30 เซ็ทสำหรับกล้ามเนื้อหลัง เชื่อเถอะว่าประสาทส่วนกลางของเรายังรับได้มากกว่านั้น สำหรับผมหรือใครก็ตาม ที่เล่นแบบ high volume แล้วยังเล่นจนถึงจุดล้า หรือแม้แต่ผ่านจุดล้าถือว่าเล่นหนักเกินไป  โดยส่วนตัวผมไม่เคยยกด้วยจำนวนครั้งต่ำกว่า 8 ครั้ง

 

งั้นคุณก็ไม่เคยใช้จำนวนครั้งต่ำกว่า 8 เลยงั้นสิ?

ถ้าเป็นdead lifts ผมอาจเล่นต่ำกว่า 6 ครั้ง แต่ถ้าเป็ท่าอื่นๆผมจะใช้น้ำหนักที่เล่นได้ 8-12ครั้งแล้วหมดแรง แม้ผมจะยกได้หนักกว่านั้น แต่ไม่รู้จะทำไปทำไม

 

งั้นคุณคงบอกว่าคุณ bench press หนักสุดเท่าไหร่ได้ใช่ไหม?

ผมไม่รู้ ไม่คิดที่จะลอง




มีวิธีการเล่นแบบไหนที่เรียกว่าเป็นแบบของ Jay Cutler เลยมั๊ย?

หลายๆคนที่ดูวีดิโอการเล่นของผม สามารถเล่นตามผมได้ เพราะผมไม่เคยเล่นผ่านจุดล้า  แต่สิ่งที่พวกเขาไม่สามารถยกตามผมได้คือพวกเขาจะหมดแรงก่อนผมและไม่สามารถควบคุมการยกได้
เพราะผมจะพักเพียงแค่ 45-60 วินาที ระหว่างเซ็ทเท่านั้น 
นักเพาะกายหลายๆคนในยุคก่อนตั้งแต่ Arnold ถึง Gaspari ใช้วิธีแบบนี้โดยพักระหว่างเซ็ทให้น้อยและผมคิดว่า นี่แหล่ะที่เป็นวิถีของการเพาะกายหล่ะ มันคือ volume training ใช้จำนวนเพื่อให้กล้ามเนื้อถูกทำลายและสร้างใหม่ตอนที่คุณพัก

 

คุณคิดอย่างไรที่คนทั่วไปมักสนใจกับน้ำหนักที่พวกเขายกได้?

ถ้าคุณเป็นนักเพาะกาย น้ำหนักก็ไม่ใช่สิ่งที่คุณควรจะใส่ใจนัก บางคนอาจยกได้มหาศาล ในขณะที่อีกหลายๆคนยกได้น้อยกว่ามาก ทุกคนล้วนแต่แข็งแรงแต่ก็สามารถยกได้ต่างกัน ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่สามารถ biceps curl ได้หนักแต่ผมก็มีกล้ามแขนเกือบ 23 นิ้ว อีกครั้งนะครับ น้ำหนักไม่ใช่อะไรที่ผมจะใส่ใจกับมันนัก

 

นักเพาะกายหลายๆคนใช้การพัฒนาด้วยน้ำหนักหรือจำนวนครั้งที่ยกได้  แต่ก็ยังมีการพัฒนาที่สามารถใช้การลดระยะเวลาในการพักลงได้ ซึ่งเป็นวิธีที่คุณชอบใช้ใช่ไหมครับ?

ใช่ คนหลายๆคนใช้น้ำหนักที่ยกได้เป็นตัววัดความสำเร็จ ซึ่งมันห่างไกลจากการเป็นนักเพาะกายที่แท้จริงมากๆ ถ้าเราเป็นนักเพาะกาย พละกำลังก็ไม่ใช่สิ่งที่เราจะต้องสนนัก อีกครั้งนะครับ การพักระหว่างเซ็ท เป็นอีกตัวแปรที่สามารถนำมาใช้ในการเพาะกาย และมันก็ไม่เกี่ยวกับน้ำหนักที่ยกได้เลยซักนิด

 

เมื่อคุณไม่ได้เน้นไปที่น้ำหนักที่ยกได้ คุณวัดผลการเพาะกายแต่ละครั้งอย่างไร?

ผมตัดสินมันจากการปวดหลังเล่นน่ะสิ ช่วงปีแรกๆ ผมปวดแทบบ้า ผมหมายถึงมันปวดทุกวันเลย
ผมแบ่งตารางโดยเล่นส่วนละครั้งทุกๆ 5-7วัน แต่ผมอาจพักนานขึ้นหากรู้สึกว่ากล้ามเนื้อยังพักได้ไม่เต็มที่ 
จริงๆแล้วการแบ่งตารางต้องคำนึงถึงเวลาที่ต้องใช้ในกิจกรรมอื่นๆของชีวิตด้วย โดยสำหรับผมคือ การเดินทาง การกิน การนอน และการฟื้นฟูด้วย

คุณคิดอย่างไรกับท่าประเภท single-joint?

ผมรู้สึกว่าท่าประเภท fly ไม่มีประโยชน์นักสำหรับการสร้างกล้ามอกคุณสามารถใช้ความหลากหลายของท่าประเภทดันเพื่อสร้างให้กล้ามเนื้ออกดูเต็มได้ มันอยู่ที่การจับความรู้สึกของกล้ามเนื้อ

ที่มา: http://www.bodybuilding.com