จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
เมื่อถึงเวลาก็ต้องยกให้เบาลงบ้าง
ผมเชื่อว่าผู้ที่เล่นกล้ามหลายๆคนชอบที่จะใช้น้ำหนักมากๆเท่าที่เรายกไหว และพยายามจะเพิ่มน้ำหนักที่ยกได้ให้เพิ่มขึ้นทุกๆ2-3สัปดาห์ ซึ่งผมเองก็จัดอยู่ในผู้เล่นกล้ามส่วนมากนี้ด้วย แต่แล้วเมื่อเล่นและเพิ่มน้ำำหนักไปได้ถึงระดับหนึ่ง อาการบาดเจ็บตามข้อต่อและเส้นเอ็นก็เริ่มเกิดขึ้น เริ่มจากเอ็นข้อมือด้านนิ้วก้อยก่อน ต่อมาก็เป็นเอ็นหัวไหล่ด้านหน้า แล้วก็มาที่เอ็นข้อศอก กล้ามเนื้อไทรเซบหัวนอก เป็นต้น ซึ่งเมื่ออาทิตย์ก่อนผมเป็นแทบจะทุกชนิด อาจเป็นเพราะเมื่อสองอาทิตย์ก่อน ผมเล่นท่า dips for chest ในวันเล่นอก และ dips for triceps ในวันเล่นแขนทั้งที่เป็นท่าที่ยังไม่คิดจะเล่นเนื่องจากยังน้ำหนักตัวมาก แต่พอเล่นกลับเล่นได้ดีโดยทำได้ 6ครั้งใน3 เซท จึงมั่นใจ แต่พอสัปดาห์ถัดมาตอนที่ยกท่า Military press ด้วยน้ำหนักราวๆ 80 ปอนด์ ผลก็คือเริ่มรู้สึกแขนซ้ายหมดแรง ไม่สามารถยกอะไรได้และเริ่มมือสั่นนิดๆ สุดท้ายก็ต้องพักไปในวันนั้น และงดการใช้ไตรเซปไปทั้งสัปดาห์
ก่อนหน้านี้ก็มีอาการเจ็บตามเส้นเอ็นข้อมือจนต้องหาอาหารเสริมพวก Glucosamine Sulfate และ MSM มาช่วยและยังต้องหา wrist wrap มาใช้ด้วยเวลาต้องยกน้ำหนักที่หนักมากๆเพื่อเซฟข้อมือ ทำให้ผมเริ่มคิดถึงสิ่งที่บางตำราได้บอกถึงการที่ต้องสลับใช้น้ำหนักที่เบาบ้างในบางสัปดาห์เพื่อลดภาระที่ข้อต่อและเส้นเอ็นต่างๆได้รับ แต่เนื่องจากวิธีพักที่ดีที่สุดก็คือการพักซัก1-2สัปดาห์ไปเลย แต่เนื่องจากตัวผมเองยังไม่อยากจะพักในตอนนี้ จึงจะใช้วิธีการยกเบาบ้างทั้งสัปดาห์น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม โดยจะลดน้ำหนักลงและเพิ่มจำนวนครั้งเข้าไปแทน เช่นจากเดิมbench press ได้ 132 ปอนด์6ครั้ง ก็กลายเป็น 110 ปอนด์ 10 ครั้งแทน เป็นต้น
บางครั้งการฝืนร่างกายและใช้แค่พลังใจอย่างเดียวอาจทำให้ช่วงเวลาของการเพาะกายของเรานั้นสั้นลง และอาจทำให้เราไม่มีโอกาสได้ทำสิ่งที่เรารักอีกต่อไป ซึ่งคงทรมานกว่าการพักบ้าง ลดน้ำหนักที่ยกลงบ้างเป็นแน่...
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)